9 วิธี ป้องกันสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตของคุณให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

ยุคสมัยนี้มิจฉาชีพมักจะมาในรูปแบบใหม่และแตกต่างกันเสมอ ยิ่งในยุคที่ทุกท่านมีสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตกันติดตัวอยู่ตลอดเวลา และแน่นอนว่าจะต้องมีข้อมูลสำคัญอย่างข้อมูลทางด้านการเงินอยู่ในนี้ด้วย ซึ่งเป็นอีกเหตุผลนึงที่มิจฉาชีพเล็งเห็นจุดที่จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้งานได้ และสิ่งสำคัญที่สุดคือการ ป้องกันสมาร์ทโฟน ของเราให้มีความปลอดภัยและไกลจากมิจฉาชีพหรือผู้ที่ไม่หวังดีกับเราเข้าถึงสมาร์ทโฟนได้โดยง่าย วันนี้เราจะพาไปดูวิธีป้องกันสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพกันครับ

ป้องกันสมาร์ทโฟน ด้วยการตั้ง Password ล็อคเครื่อง

การตั้ง Password ล็อคเครื่องก่อนการเข้าใช้งานนั้น เป็นการป้องกันผู้ที่ไม่หวังดีใกล้ตัวหยิบสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของคุณไปใช้งานในทางที่ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นการขโมยข้อมูลต่างๆ หรือนำไปโพสต์โซเชียลในทางที่เสียหาย สมัยนี้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตรุ่นใหม่ๆก็มีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือมาให้ ทำให้การปลดล็อคตัวเครื่องสะดวกมากขึ้น ทำไมเราถึงไม่ใช้งานกันล่ะครับ

ตั้งค่าล็อคหน้าจออัตโนมัติ

หากเราตั้งค่า Password ล็อคตัวเครื่องแล้วไม่ทำการล็อคหน้าจอก็แทบจะไร้ค่า เพราะถ้าไม่มีการล็อคหน้าจอ ผู้ที่ไม่หวังดีก็สามารถหยิบสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของคุณมาใช้งานได้ทันที ดังนั้นควรตั้งค่าล็อคหน้าจออัตโนมัติไว้ และควรที่จะทำการล็อคหน้าจอด้วยตนเองทุกครั้งหลังจากใช้งานเสร็จ

เลือกติดตั้งแอพพลิเคชั่นจาก Store

การติดตั้งแอพพลิเคชั่นจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือก็เป็นอีกหนทางนึงของมิจฉาชีพทางไซเบอร์ที่จะสามารถเจาะข้อมูลต่างๆในสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของคุณได้ ดังนั้นการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจากแหล่งที่เชื่อถือได้เป็นสิ่งสำคัญ จึงควรดาวน์โหลดจาก Store ของแต่ละระบบปฏิบัติการจะดีกว่า เพราะจะมีการตรวจสอบแอพพลิเคชั่นของนักพัฒนาก่อนที่จะปล่อยให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้ดาวน์โหลด

ตรวจสอบ Permission ของแอพ

บางแอพพิลเคชั่นไม่ได้ทำผิดกฏของ Store แต่อาจจะมีการแอบขอสิทธิ์การเข้าถึงเกินความสามารถของแอพพลิเคชั่นนั้นๆ เช่น แอพเกี่ยวกับการแต่งรูปภาพ จะขอสิทธิ์การเข้าถึงของรายชื่อ, อีเมล์ ซึ่งมันไม่สมเหตุ สมผลสักเท่าไรนัก ดังนั้นเราควรตรวจสอบ Permission หรือสิทธิ์การเข้าถึงก่อนที่จะติดตั้ง แม้จะดาวน์โหลดจาก Store ของระบบปฏิบัติการก็ตาม

ควรระแวงลิงค์แปลกๆ ที่ถูกส่งมาใน SMS หรือ Email

นี่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้ใช้งานหลายๆ ท่านโดนมิจฉาชีพขโมยข้อมูลส่วนตัวไปได้ เพียงเพราะคลิกลิงค์ใน Email หรือ SMS ที่ใครไม่รู้จักส่งมา หรือเป็นเพื่อนที่ส่งมาแบบแปลกๆ ดังนั้นควรจะระแวงไม่คลิกลิงค์จากแหล่งที่มาที่เราไม่รู้จัก หรือถ้าเพื่อนส่งมาก็ควรถามกลับไปก่อน เพราะบางครั้งเพื่อนคนนั้นอาจจติดไวรัสไปแล้วก็เป็นได้

อัพเกรด OS อยู่เสมอ

การอัพเกรดระบบปฏิบัติการ หรือ OS นั้น ไม่เพียงเป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าตาและฟีเจอร์ใหม่ๆ เท่านั้น บางครั้งอาจจะเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของคุณด้วย ดังนั้นเราควรที่จะอัพเกรด OS อยู่เสมอครับ

หลีกเลี่ยงการเจลเบรก หรือ รูทเครื่อง

การเจลเบรก (Jailbreak) และการรูทเครื่อง (Root) เพื่อปลดล็อคการเข้าถึงตัวเครื่องของสมาณืทโฟนหรือแท็บเล็ตเพื่อให้ได้ใช้งานต่างๆเพิ่มเติมได้นั้น จะส่งผลให้ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยต่างๆ ถูกยกเลิก ทำให้มิจฉาชีพง่ายต่อการเข้าถึงตัวเครื่องง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังหมดประกันตัวเครื่องจากทางศูนย์อีกด้วย

ปิด Bluetooth และ NFC เมื่อไม่ได้ใช้งาน

บางครั้งเราใช้งาน NFC เกี่ยวกับการเงิน เช่นการชำระเงินในรูปแบบต่างๆ ผ่านการแตะอุปกรณ์ที่รองรับ NFC ดังนั้นเมื่อเราใช้งานเสร็จควรที่จะทำการปิดซะ เพราะเทคโนโลยีนี้สามารถถูกแอบส่งไฟล์ต่างๆ เข้ามาในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของเราได้ นอกจากนี้ยังไม่ควรเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ไม่น่าเชื่อถืออีกด้วย

ไม่ควรเชื่อม Wi-Fi ตามแหล่งสาธารณะ

แน่นอนว่าใครๆก็ชื่นชอบ Wi-Fi ฟรี แต่ Wi-Fi ฟรีเหล่านี้อาจจะส่งโทษมากกว่าค่าเน็ตที่คุณต้องจ่ายออกไปก็ได้ เพราะ Wi-Fi สาธารณะจะมีการป้องกัน และมาตรฐานความปลอดภัยที่ต่ำ ซึ่งจะทำให้มิจฉาชีพเข้าถึงอุปกรณ์ของเราได้ง่ายขึ้นด้วย

เทคโนโลยีจากสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในยุคสมัยนี้ได้มอบความสะดวกสะบายให้กับเรามากมายนัก แต่ถ้าหากเราใช้งานอย่างไม่ระมัดระวังก็จะส่งผลเสียมากมายต่อเราได้ และบางทีอาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัว อย่าลืมนะครับว่ามิจฉาชีพไม่เคยหยุดอยู่กับรูปแบบเดิมๆ ดังนั้นอะไรที่เราป้องกันได้ ก็ควรทำอยู่เสมอครับ

Exit mobile version