• Blog
  • Applications
  • Games
  • Reviews
  • Tips & Tricks
  • Freebies
  • Recommended
THE ALL APPS
  • Blog
  • Applications
  • Games
  • Reviews
  • Tips & Tricks
  • Freebies
  • Recommended
No Result
View All Result
  • Blog
  • Applications
  • Games
  • Reviews
  • Tips & Tricks
  • Freebies
  • Recommended
No Result
View All Result
THE ALL APPS
No Result
View All Result
ADVERTISEMENT
Home News & Update

ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจาก Mastercard เผยว่าคนไทยมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

THE ALL APPS by THE ALL APPS
13 มกราคม 2018
in News & Update, PR
0
SHARES
11
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterLine

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index of Consumer Confidence) ในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 เผยว่าผู้บริโภคประเทศไทยมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในประเทศไทยโดยภาพรวมอยู่ที่ 65.1 จุด สะท้อนความเชื่อมั่นต่อสภาพเศรษฐกิจ การจ้างงาน และคุณภาพชีวิต ซึ่งประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดี นำหน้า ออสเตรเลีย (54.0 จุด) มาเลเซีย (45.9 จุด) ญี่ปุ่น (51.0 จุด) และไต้หวัน (44.2 จุด) และเมื่อเทียบในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในห้าอันดับแรก พบว่าฟิลิปปินส์มีความเชื่อมั่นสูงสุด (94.5 จุด) โดยจีนเท่ากับกัมพูชา (92.2 จุด) เมียนมาร์ (91.7 จุด) และเวียดนาม (89.5 จุด) และผลสำรวจยังพบว่าผู้บริโภคไทยในกลุ่มมิลเลนเนียล (อายุระหว่าง 18 – 29 ปี) มีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทยในอีกหกเดือนข้างหน้าอยู่ที่ 69.5 จุด มากกว่าผู้บริโภคกลุ่มผู้ใหญ่ (ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป) ซึ่งมีความเชื่อมั่นอยู่ที่ 63.5 จุด

ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจาก Mastercard เผยว่าคนไทยมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

จากสภาวะเศรษฐกิจขยายตัว สืบเนื่องมาจากการเติบโตในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการค้าขายระหว่างกันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งภูมิภาคอยู่ที่ 68.5 จุด โดยตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2560 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น ในกลุ่มผู้บริโภคมิลเลนเนียลส์ (อายุระหว่าง 18 – 29 ปี) เพิ่มขึ้น 6.3 จุด และผู้บริโภคกลุ่มผู้ใหญ่ (ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้น 5.0 จุด จากรายงานพบว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้นต่อสภาพเศรษฐกิจ ตลาดหลักทรัพย์ และการจ้างงาน โดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่อภาวะตลาดหุ้น พบว่าเพิ่มมาขึ้นถึง 10.2 จุด ในกลุ่มผู้บริโภคอายุน้อยกว่า 30 ปี

ช่วงระหว่างเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนและธันวาคม 2560 ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 9,141 ราย อายุระหว่าง 18 ถึง 64 ปีจาก 18 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกได้รับการสอบถามให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับมุมมองทางเศรษฐกิจห้าประการในอีกหกเดือนข้างหน้า อันได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ การจ้างงาน รายได้ ภาวะตลาดหุ้น และคุณภาพชีวิต โดยดัชนีนี้ได้มาจากการคำนวนระดับคะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดยที่ 0 หมายถึง รู้สึกแย่ที่สุด และ 100 หมายถึงรู้สึกดีที่สุด ส่วนคะแนนระหว่าง 40 ถึง 60 จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง อนึ่ง ดัชนีและรายงานอ้างอิงที่เกี่ยวข้องนี้ไม่สามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดผลประกอบการทางการเงินของมาสเตอร์การ์ดได้

ประเด็นเด่นจากผลการสำรวจในแถบเอเชียแปซิฟิก

  • ความเชื่อมั่นโดยรวมของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกมีระดับที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในฟิลิปปินส์ (94.5 จุด) สูงที่สุดในภูมิภาค โดยในช่วงครึ่งปีหลังความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อภาวะตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น (+11.3 จุด) โอกาสในการสร้างรายได้ที่มั่นคงเพิ่มขึ้น (+5.3 จุด) และคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น (+4.4 จุด)
  • ตรงกันข้าม ศรีลังกา (39.5 จุด) ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับแย่ลง โดยพบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อคุณภาพชีวิต (-4 จุด) และสภาพเศรษฐกิจ (-3.2 จุด)
  • การใช้จ่ายในภาคธุรกิจค้าปลีกที่เพิ่มมากขึ้น ผนวกกับการท่องเที่ยวภายในฮ่องกง ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 21.8 จุด จากเดิมความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ในระดับย่ำแย่ กลับมีความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้นทั้งโอกาสการจ้างงาน (+32.5 จุด) สภาพเศรษฐกิจ (+23.3 จุด) ภาวะตลาดหุ้น (+19.3 จุด) ความเชื่อมั่นด้านรายได้ (+18.9 จุด) และคุณภาพชีวิต (+15.2 จุด)
  • จากความตึงเครียดบริเวณชายแดนเกาหลีใต้ ส่งผลให้ในความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงโดยกลุ่มอายุต่ำกว่า 30 ปี (-28.3 จุด) และกลุ่มผู้บริโภคอายุมากกว่า 30 ปี (-18.4 จุด) เกาหลีใตมีระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงสองระดับ จากความเชื่อมั่นที่เป็นบวก ลงมาอยู่ที่ระดับกลาง อีกหนึ่งตลาดที่ผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มมีความเชื่อมั่นลดลงได้แก่ บังคลาเทศ โดยผู้บริโภคในกลุ่มอายุต่ำกว่า 30 ปี มีความเชื่อมั่นลดลง (-8.1 จุด) และกลุ่มผู้บริโภคอายุ 30 ปีขึ้นไป มีความเชื่อมั่นลดลง (-9.5 จุด)
  • ผู้บริโภคกลุ่มอายุต่ำกว่า 30 ปี ใน 11 ตลาดมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นได้แก่ ออสเตรเลีย (+4.8 จุด) เมียนมาร์ (+4.4 จุด) และไทย (+2.1 จุด) และตลาดที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นอย่างมาก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ (+6.9 จุด) ไต้หวัน (+8.6 จุด) มาเลเซีย (+6.2 จุด) สิงคโปร์ (+5.3 จุด) ตลาดที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นดีขึ้นมากได้แก่นิวซีแลนด์ (+15.1 จุด)
  • ผู้บริโภคกลุ่มผู้ใหญ่ (ตั้งแต่อายุ 30 ปี ขึ้นไป) จาก 4 ใน 18 แห่งของตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีคะแนนลดต่ำลง ได้แก่ อินโดนีเชีย (-3.1) และกัมพูชา (-1.9) ตลาดที่คะแนนลดลงได้แก่ บังคลาเทศ (-9.5) และ เกาหลีใต้ (-18.4)

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในประเทศไทย ครึ่งหลังปี 2560

ประเทศไทย ครี่งหลัง ปี 2560 ผู้บริโภคกลุ่มอายุต่ำกว่า 30 ปี

ระดับคะแนน

  ผู้บริโภคกลุ่มอายุ 30 ปี ขึ้นไป

ระดับคะแนน

โอกาสการจ้างงาน 65.3 57.9
สภาพเศรษฐกิจ 60.3 52.7
โอกาสในการสร้างรายได้ที่มั่นคง 88.9 79.3
ภาวะตลาดหุ้น 67.6 67.5
คุณภาพชีวิต 65.2 60.1

วิธีการวิจัย

ผู้ตอบแบบสำรวจต้องตอบคำถามห้าข้อ เพื่อแสดงความคิดเห็นของพวกเขาเกี่ยวกับการคาดการณ์ในอีกหกเดือนข้างหน้าในเรื่องสภาพเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ ภาวะตลาดหุ้นในประเทศ โอกาสในการสร้างรายได้ที่มั่นคง และคุณภาพชีวิตของพวกเขา คำตอบทั้งหมดที่ได้รับจะถูกแปลงให้เป็นดัชนีห้าประการที่จะนำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อสร้างดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index of Consumer Confidence, MICC) โดยดัชนี MICC และดัชนีประกอบทั้งห้ารายการนั้นจะมีคะแนนตั้งแต่ 0 – 100 โดยที่ 0 หมายถึงระดับความเชื่อมั่นที่แย่ที่สุด 100 หมายถึงระดับความเชื่อมั่นที่ดีมากที่สุด และ 50 หมายถึงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับปานกลาง

เกี่ยวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด

การสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index™ of Consumer Confidence) มีมายาวนานถึง 20 ปี เป็นผลมาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์กว่า 200,000 ราย จึงถือได้ว่าเป็นงานสำรวจวิจัยที่ไม่มีใครเทียบชั้นได้ ทั้งในแง่ของขนาดข้อมูล และระยะเวลาในการสะสมข้อมูลที่ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

การสำรวจนี้มีมายาวนานที่สุดและมีความครอบคลุมที่สุดเมื่อเทียบกับการสำรวจรูปแบบเดียวกันในภูมิภาคนี้ โดยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 ดัชนีนี้ได้เผยให้เห็นถึงระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับลดลง ซึ่งเป็นเวลาเพียงหนึ่งเดือนก่อนที่ค่าเงินบาทจะอ่อนตัว จนเกิดเป็นภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคในลำดับถัดมา และอีกครั้งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 ที่ดัชนีนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าความเชื่อมั่นด้านภาวะการจ้างงานในฮ่องกงนั้นมีระดับคะแนนลดต่ำลงเหลือเพียง 20.0 ซึ่งต่อมาได้สะท้อนให้เห็นถึงอัตราการว่างงานของฮ่องกงที่พุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ระดับ 8% ในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน

การสำรวจนี้เริ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2536 และได้ถูกจัดทำเรื่อยมาตลอดนับแต่บัดนั้น โดยจะแสดงผลปีละสองครั้ง ปัจจุบันมีตลาด (ประเทศ) ในเอเชียแปซิฟิกที่อยู่ภายใต้การสำรวจจำนวนถึง 17 แห่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย พม่า นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม

Tags: Mastercard
ShareTweetShare
Previous Post

11street เอาใจหนูน้อย ด้วยโปรโมชั่นวันเด็ก ขนขนม ของเล่น อุปกรณ์กีฬา ที่เหมาะกับคุณหนูๆ มาลดสูงสุด 70%

Next Post

โซนี่ไทยเปิดตัว Sony Xperia XA2 Ultra และ Xperia L2 สมาร์ทโฟนระดับ Super Mid-Range

THE ALL APPS

THE ALL APPS

รวมทุกอย่างที่เกี่ยวกับแอปพลิเคชัน, เกม, ทิปและเทคนิคการใช้งานมือถือสมาร์ทโฟน รวมไปถึงอุปกรณ์ไอทีต่างๆ

Related Posts

KTC ผนึก Agoda และ Mastercard เปิดตัวยิ่งใหญ่ บัตรเครดิตเคทีซี - อโกด้า มาสเตอร์การ์ด สิทธิพิเศษเหนือระดับ เจ้าแรกในเอเชีย
News & Update

KTC ผนึก Agoda และ Mastercard เปิดตัวยิ่งใหญ่ บัตรเครดิตเคทีซี – อโกด้า มาสเตอร์การ์ด สิทธิพิเศษเหนือระดับ เจ้าแรกในเอเชีย

28 เมษายน 2022
Mastercard ร่วมกับ รฟม และธนาคารกรุงไทย นำร่องระบบแตะจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT แบบไร้สัมผัส
News & Update

Mastercard ร่วมกับ รฟม และธนาคารกรุงไทย นำร่องระบบแตะจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT แบบไร้สัมผัส

16 กุมภาพันธ์ 2022
YouTrip จับมือธนาคารกสิกรไทย เปิดบริการกระเป๋าเงินดิจิทัลรองรับหลายสกุลเพื่อการเดินทาง ชูจุดเด่นไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ ในการใช้จ่ายและใช้บริการ
Applications

YouTrip ผนึก KBank เปิดตัวแอปฯกระเป๋าเงินสำหรับนักเดินทาง รองรับหลายสกุล เรทดี ไม่มีค่าธรรมเนียม ใช้จ่ายได้ทั่วโลก

7 พฤศจิกายน 2019
HaHa Taxi App แอพทางเลือกใหม่สำหรับผู้โดยสาร เพื่อแท็กซี่กรุงเทพฯ ยุคใหม่ ปลอดภัย จ่ายเงินง่าย ไร้เงินสด
Applications

HaHa Taxi App แอพเรียกแท็กซี่น้องใหม่ ปลอดภัย จ่ายเงินง่าย ไร้เงินสด

27 มกราคม 2019
News & Update

Mastercard จับมือ GARMIN เปิดตัว GARMIN Pay จ่ายเงินผ่านนาฬิกาการ์มิน

16 พฤศจิกายน 2018
News & Update

Mastercard เปิดตัวเครื่องมือรักษาความปลอดภัยของบัญชีให้กับธนาคารผู้ออกบัตร เพื่อป้องกันการจารกรรมข้อมูล

4 พฤศจิกายน 2017
Next Post
Sony Xperia XA2 Ultra ราคา

โซนี่ไทยเปิดตัว Sony Xperia XA2 Ultra และ Xperia L2 สมาร์ทโฟนระดับ Super Mid-Range

11street รวบรวมดีลสุดพิเศษ ต้อนรับเทศกาลวันวาเลนไทน์ช้อปดีล คูปอง E-Voucher โรงแรม ตั๋วท่องเที่ยว ร้านอาหาร และสปาสุดหรู

GearBest เว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ แหล่งรวมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สมาร์ทโฟน แกดเจ็ต ฯลฯ ราคา

GearBest เว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ แหล่งรวมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สมาร์ทโฟน แกดเจ็ต ฯลฯ

เรื่องยอดนิยม

  • สัญลักษณ์ รูป หัวใจ ดาว และอื่นๆ อักษรพิเศษ อีโมชั่น สัญลักษณ์พิเศษ แสดงอารมณ์
    สัญลักษณ์ รูป หัวใจ ดาว และอื่นๆ อักษรพิเศษ อีโมชั่น สัญลักษณ์พิเศษ แสดงอารมณ์
  • ไม่อยากบล็อค ก็ลบออกไปเลยง่ายๆ วิธี Remove followers ลบผู้ติดตามบน Instagram
    ไม่อยากบล็อค ก็ลบออกไปเลยง่ายๆ วิธี Remove followers ลบผู้ติดตามบน Instagram
  • Create Formation จัดแผนพร้อมกับทัพนักเตะในดวงใจ มีทั้งนักเตะปัจจุบันและนักเตะระดับตำนาน
    Create Formation จัดแผนพร้อมกับทัพนักเตะในดวงใจ มีทั้งนักเตะปัจจุบันและนักเตะระดับตำนาน
  • 5 แอพวิ่งฟรี บน iPhone สำหรับคนชอบวิ่ง
    5 แอพวิ่งฟรี บน iPhone สำหรับคนชอบวิ่ง
  • รีวิว iXpand Mini แฟลชไดร์ฟสำหรับ iPad และ iPhone จาก SanDisk
    รีวิว iXpand Mini แฟลชไดร์ฟสำหรับ iPad และ iPhone จาก SanDisk

About The All Apps

www.theallapps.com เป็นเว็บสำหรับผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ทั่วไป เนื้อหาจะเน้นไปทางแนะนำแอปพลิเคชัน, เกม และทิป เทคนิคการใช้งานที่น่าสนใจ ทั้งนี้ยังมีการรวบรวมข่าว, บทความ และเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับแวดวงไอที, Gadget

Follow Us

  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube

เรื่องยอดนิยม

  • สัญลักษณ์ รูป หัวใจ ดาว และอื่นๆ อักษรพิเศษ อีโมชั่น สัญลักษณ์พิเศษ แสดงอารมณ์
    สัญลักษณ์ รูป หัวใจ ดาว และอื่นๆ อักษรพิเศษ อีโมชั่น สัญลักษณ์พิเศษ แสดงอารมณ์
  • ไม่อยากบล็อค ก็ลบออกไปเลยง่ายๆ วิธี Remove followers ลบผู้ติดตามบน Instagram
    ไม่อยากบล็อค ก็ลบออกไปเลยง่ายๆ วิธี Remove followers ลบผู้ติดตามบน Instagram
  • Create Formation จัดแผนพร้อมกับทัพนักเตะในดวงใจ มีทั้งนักเตะปัจจุบันและนักเตะระดับตำนาน
    Create Formation จัดแผนพร้อมกับทัพนักเตะในดวงใจ มีทั้งนักเตะปัจจุบันและนักเตะระดับตำนาน
  • About Us
  • Privacy Policy

© 2014 THE ALL APPS

No Result
View All Result
  • Blog
  • Applications
  • Games
  • Reviews
  • Tips & Tricks
  • Freebies
  • Recommended

© 2014 THE ALL APPS

 

Loading Comments...